ประธานสภาอุตฯ ปัตตานี วิพากษ์ ไทยเดินตามอียู 6 ปี ประมงนับวันล่มสลาย กังขาบังคับใช้กฎหมาย มากกว่า IUU ของอียู ชี้ประเทศนี้ไม่เอื้อกับอาชีพประมง
นางสุภาวดี โชคสกุลนิมิตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ไทย เป็นประเทศถือว่าเป็นแผ่นดินทอง ที่เราเคยได้ยินมาตั้งแต่จำความได้ มาวันนี้เราก็ยังเป็นครัวของโลกได้ เพราะเรามีความได้เปรียบเชิงพื้นที่การทำการประมงมาเป็นระยะเวลา 40-50 ปี ซึ่งเราก็ทำการประมงกันมา โดยการถ่ายทอด สู่รุ่นต่อรุ่น ทะเลเป็นของธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย ซึ่งคนทำประมงจะทราบดี ว่า น้ำเป็นน้ำ ฤดูกาลเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปรากฎการทางธรรมชาติ ที่เราควบคุมไม่ได้ แต่ชาวประมงก็ยังสามารถยืนหยัดในอาชีพนี้ มากว่า 50 ปี แล้ว
“ปัจจุบันเราได้เอา IUU ของ อียู มาควบคุมการทำประมงในประเทศ รัฐบาลเชื่อว่าชาวประมงทุกคนรับได้ แต่ในส่วนของชาวประมงคิดว่าควรเป็น IUU ของประเทศไทย เพราะสภาพอากาศ พื้นที่ทะเล และเครื่องมือทำประมงต่างกัน แต่ประเทศไทย เอาIUU ของ EU มาใช้ควบคุมชาวประมงในประเทศไทย และยังออกแบบกฎหมายมาให้ การควบคุมเพื่อสอดคล้องกับIUU ของ EU มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย”
อาชีพประมงถือว่าอยู่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะมีงบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกรทุกปี แต่อาชีพประมงเป็นอาชีพเดียวที่ภาครัฐไม่เคยอุดหนุนเลย ไม่ต้องเสียงบประมาณ เพราะมันสามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ แสดงให้เห็นว่าอาชีพนี้ภาครัฐควรสนับสนุนให้โอกาสในการประกอบอาชีพ เพราะไม่ต้องใช้งบประมาณ มันก็สามารถทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบโดยอัตโนมัติ ช่วยให้ GDP ของประทศขึ้นไม่ต่ำกว่า35%
“อาชีพประมง” คือต้นน้ำ จึงทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากมาย เช่นก่อนออกทำการประมงก็ซื้อของลงเรือเพื่อการดำรงค์ชีพในเรือ อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องก็ได้ผลประโยชน์ เมื่อเรือประมงเข้ามาก็เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีก เกิดการจ้างงานมากมายทำให้คนจำนวนมากมีงานทำ เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบมาวันนี้อาชีพประมงของคนไทย ถูกจำกัดสิทธิในการทำกินแบบไม่มีเหตุผล
“จนต้องจบอาชีพที่ถ่ายทอดกันมากว่า 50ปี เหลือรอดไม่ถึงครึ่ง ซึ่งก็มีอาการร่อแร่ เพราะการบังคับใช้กฎหมาย มากกว่า IUU ของEU ในประเทศไทย มันเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้ พอเราถอดใจยอมจบอาชีพเพราะดูแล้วไม่ไหว ภาครัฐก็ไม่ยอมซื้อเรือออกจากระบบสักที ปล่อยให้ชาวประมง อยู่ในสภาพ จะออกหากินก็ยากเพราะข้อกฎหมายที่เข้ม จะออกจากระบบ เพราะลากต่อไม่ไหว ก็รอแล้วรอ ก็ยังไม่ได้ เงินสักที สรุปต้องอยู่แบบกล้ำกลืนฝืนทนจริงๆ เพราะประเทศไทยไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพประมง”
ณ ปัจจุบัน อุตสาหกรรม เกี่ยวเนื่องประมงที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ100% กำลังจะตาย เพราะขาดวัตถุดิบ ลดกำลังผลิตเหลือแค่ ไม่ถึง 30% คนก็เริ่มตกงานทั้งระบบผิดกับธุรกิจอุตสาหกรรม ที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 100% เพื่อผลิตส่งและออก ภาษี เป็น 0 กับเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่ ซึ่งเป็น 5% ของประเทศ แต่กลับได้รับการดูแล แต่อีก 95% กำลังจะตาย
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า น่าเสียดายที่ประเทศนี้ ที่อยู่บนชัยภูมิที่ดีควรจะได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ปัจจุบัน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องประมง เรายังแข่งขันกับเพื่อนบ้านไม่ได้เลยโดนตัดราคาตลอด มันเกิดอะไรขึ้น อาชีพประมงกำลังสูญพันธ์ ประชาชนกำลังเดือดร้อน ประเทศชาติกำลังเสียหายการที่เรามีความได้เปรียบคู่แข่งทุกด้านทั้งภูมิประเทศ องค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพในด้านการผลิต
แต่มาวันนี้เราแพ้ทุกด้านมันเกิดอะไรขึ้น แสดงว่าสิ่งที่พยามแก้ไขปัญหาเพื่อตอบโจทย์ EU มันใช่ไหม ผู้นำต้องทบทวน การแก้ไขIUU มา 6 ปี สัตว์น้ำทะเลก็ไม่เพิ่มขึ้น แสดงว่าเรามาถูกทางไหม วิกฤติ มันทดสอบผู้นำว่ามีวิสัยทัศน์อย่างไร การเกิดผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ผู้นำต้องทบทวน ประเทศชาติกำลังเสียหาย ไม่ใช่สัตว์น้ำสูญพันธ์ แต่อาชีพประมงนับถอยหลังกำลังล่มสลายลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานเข้า! "อียู" ท้วงสินเชื่อประมงหมื่นล้าน
มองต่างมุม “อียู” ท้วงสินเชื่อประมงไทย
August 01, 2020 at 08:20PM
https://ift.tt/2BRH9Er
6 ปี เดินตาม “อียู” นับถอยหลังสู่วันล่มสลาย - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/30eagvn
Bagikan Berita Ini
0 Response to "6 ปี เดินตาม “อียู” นับถอยหลังสู่วันล่มสลาย - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment